Hypertension Update
Effect of a multifaceted intervention on cardiovascular risk factors in high-risk hypertensive patients. 2207 View(s)
Effect of a multifaceted intervention on cardiovascular risk factors in high-risk hypertensive patients : the ESCAPE trial, a pragmatic cluster randomized trial in general practice.

โดย Denis Pouchain และคณะ

วารสารวิชาการ Trials 2013;14:318.

บทคัดย่อ

ที่มา การศึกษาของโรคความดันโลหิตสูง แบบสังเกตหลายการศึกษา ได้แสดงถึงช่องว่างคำแนะนำสำหรับเป้าหมายในการรักษาตามแนวทางคำแนะนำต่างๆ และความสำเร็จในเวชปฏิบัติ.
การศึกษา The ESCAPE มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรักษาแบบหลากหลายด้าน โดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป สามารถช่วยให้ประชากรความดันโลหิตสูงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ให้ได้รับการป้องกันเชิงปฐมภูมิตามเป้าหมายของแนวทางการรักษา.

วิธีการศึกษา : การศิกษาแบบ pragmatic, cluster randomized โดยการสุ่มแพทย์เวชปฏิบัติจำนวน 257 คน จากแต่ละพื้นที่. โดยแพทย์ที่ได้อยู่กลุ่มทดลอง (intervention group) ได้รับกาฝึกฝน เป็นระยะเวลา 1 วัน และได้รับเครื่องวัดความดันแบบใช้ไฟฟ้า พร้อมทั้งคู่มือการใช้งานและคำแนะนำ. ตลอดระยะเวลาการติดตาม ในกลุ่มดังกล่าว ได้รับการคำแนะนำในการให้คำปรึกษาเรื่องความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงระบบหัวใจและหลอดเลือดทุกๆ 6 เดือน ในตลอดระยะเวลา 2 ปี. เป้าหมายหลักของการศึกษาได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามเป้าหมาย และผลการรักษาในแต่ละคน ที่ระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งดูเรื่องคคุณภาพชีวิตด้วย.

ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ทั้งสิ้น 1,832 คน ถูกเข้าร่วมการศึกษา. ภายหลังจากระยะเวลา 2 ปี พบว่า สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับผลการรักษาตามเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม
แต่พบว่าในกลุ่มแพทย์ได้รับการฝึกฝน (intervention group) นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า OR (odds-ration) 1.89, (95% confidence interval (CI) 1.09 ถึง 3.27, P เท่ากับ 0.02).
จำนวนผู้ป่วยที่ได้การรักษาตามเป้าหมายในกลุ่ม intervention สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญ OR 2.03 (95%CI 1.44 ถึง 2.88, P น้อยกว่า 0.0001). ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก และดัยแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม intervention มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ เท่ากับ 4.8 และ 1.9 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ (P น้อยกว่า 0.0001 ทั้งสองค่า). อย่งไรก็ตาม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านคุณภาพชีวิตด้านกายภาพและจิตใจ ระหว่างทั้งสองกลุ่ม.

สรุป การฝึกฝนในหลากหลายด้านในกลุ่มแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป สามารถเพิ่มสัดส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ให้ได้รับการรักษาและการป้องการเชิงปฐมภูมิ ตามคำแนะนำของการรักษาต่างๆได้.