Hypertension Update
Walking and Running Produce Similar Reduction in Cause-Specific Disease Mortality in Hypertensives 2206 View(s)
Walking and Running Produce Similar Reduction in Cause-Specific Disease Mortality in Hypertensives.

โดย Paul T. Williams.
วารสารวิชาการ Hypertension.2013;62:485-491.

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามไปข้างหน้า สำหรับปัจจัยด้านการออกกำลังกายแบบระดับปานกลาง และแบบระดับหักโหม ต่อการลดลงของการเสียชีวิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. การวิเคราะห์แบบ cox-proprotional hazard สำหรับการใช้พลังงาน (metabolic equivalents ชั่วโมงต่อวัน [METh/d]) ในกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน จำนวน 6,973 คน และ กลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง จำนวน 3,907 คน ซึ่งล้วนแต่ได้รับยาลดความดันโลหิตอยู่แล้ว. จากระยะเวลาการติดตาม 10.2 ปี มีผู้เสียชีวิต จำนวน 1,121 คน จำแนกตามสาเหตุการเสียชีวิต ได้แก่ สาเหตุจากระบบหัวใจและหลอดเลือด 695 คน (International Classification of Diseases, Tenth Revision [ICD10] I00-99; โดย เป็น underlyling 465 คน และ contributing cause 230 คน)
, สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง 124 คน , สาเหตุจากโรคหลอดเลือหัวใจ 353 คน (ICD10 I20-25; โดย เป็น underlyling 257 คน และ contributing cause 96 คน)
, สาเหตุจากโรคระบบหัวใจล้มเหลว 122 คน (ICD10 I50; โดย เป็น underlyling 24 คน และ contributing cause 98 คน) และจากสาเหตุจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ (ICD10 I46-49 ; โดย เป็น underlyling 24 คน และ contributing cause 236 คน).
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตามระดับการใช้พลังงาน น้อยกว่า 1.07 METh/d พบว่ากลุ่มที่ออกกำลังด้วยการเดินหรือวิ่ง ที่มีระดับการใช้พลังงาน 1.08 ถึง 3.6 METh/d มีอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งเสียชีวิตจากสาเหตุโรคทั้งหมด (29% reduction; 95 % confidence interval [CI], 17 % - 39 %; P= 0.0001) , เสียชีวิตจากระบบหัวใจหลอดเลือด (34 % reduction; 95% CI, 20 % - 46 %; P= 0.0001) , เสียชีวิตจากสาเหตุโรคระบบหลอดเลือดสมอง (55 % reduction; 95% CI, 27 % - 73 %; P= 0.001) , เสียชีวิตจากสาเหตุระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (47 % reduction; 95% CI, 27 % - 62 %; P= 0.0001) และเสียชีวิตจากสาเหตุโรคระบบหัวใจล้มเหลว (51 % reduction; 95% CI, 21 % - 70 %; P= 0.003).

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุุ่มที่ใช้พลังงานระดับ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.6 METh/d พบว่า การเสียชีวิตจากสาเหตุโรคทั้งหมด (22% reduction; 95 % confidence interval [CI], 6 % - 35 %; P= 0.005) , เสียชีวิตจากระบบหัวใจหลอดเลือด (34 % reduction; 95% CI, 20 % - 46 %; P= 0.0001) , เสียชีวิตจากสาเหตุโรคระบบหลอดเลือดสมอง (36 % reduction; 95% CI, 19 % - 50 %; P= 0.0002) , เสียชีวิตจากสาเหตุระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (43 % reduction; 95% CI, 16 % - 62 %; P= 0.004).

นอกจากนี้ยังพบว่าการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง ยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย. ระดับการใช้พลังงานที่ 1.07 ถึง 1.08 METh/d ไม่ได้ช่วยลดการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ.

ผลการศึกษานี้ ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน และ ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง โดยให้ผลในการลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในทำนองคล้ายคลึงกัน.