Hypertension Update
Fish Meal Supplementation and Ambulatory Blood Pressure in Patients With Hypertension 2197 View(s)
Fish Meal Supplementation and Ambulatory Blood Pressure in Patients With Hypertension : Relevance of Baseline Membrane Fatty Acid Composition.

โดย Colussi G. และคณะ
วารสารวิชาการ Am J Hypertension 2014. Jan 3.

บทคัดย่อ
ที่มา : การศึกษาสำหรับผลของน้ำมันปลาต่อความดันโลหิตแบบ ambulatory (ambulatory blood pressure; ABP) ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน. ผู้ทำการศึกษาได้ทำการประเมินผลของการรับประทานน้ำมันปลา (ซึ่งมีกรดไขมัน เป็นส่วนประกอบของเยื่อบุผนังเม็ดเลือดแดง) ต่อระดับความดันโลหิต ABP และทำการทดสอบสมมุติฐานของผลของเยื่อบุที่มีส่วนของกรดไขมันเป็นส่วนประกอบต่อความสามารถในการเพิ่มกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fatty acid; PUFA) และการลดความดันโลหิต.

วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 55 คน ได้ถูกทำการตรวจเยื่อบุเม็ดเลือดแดง โดยวิธี gas chromotography และทำการติดตามความดันโลหิต ABP. ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่กำหนดให้อุดมไปด้วย PUFA พร้อมทั้งคำแนะนำ เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ . คงเหลือผู้ป่วย ทั้งสิ้น 42 คน ที่ได้มีการติดตามส่วนประกอบของกรดไขมันบนเม็ดเลือดแดง และระดับ ABP ที่ 6 เดือน.

ผลการศึกษา : ที่ระดับเริ่มต้น อัตราส่่วนของ PUFA / saturated fatty acid (SFA) ของเม็ดเลือดแดง นั้นจะแปรผลผันกับระดับความดันโลหิต 24 ชั่วโมง ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน. จาการติดตาม พบว่า อัตราส่วน PUFA / SFA เพิ่มขึ้น ร้อยละ 48 (จาก 20 คน ใน 42 คน), โดยผู้ป่วยที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนดังกล่าว ที่การติดตาม น้้นมีค่าดังกล่าวที่ต่ำกว่า ที่ระยะเริ่มต้น. การลดลงของระดับความดันโลหิต แบบ 24 ชั่วโมง ทั้งค่าความดันซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก ในผู้ป่วยที่บริโภคปลา นั้น จะพบเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอัตราส่วน PUFA / SFA เพิ่มขึ้นเท่านั้น. และผลในการลดความดันโลหิตนั้นเห็นได้เด่นชัดในช่วงเวลากลางคืน.

สรุป : ความสามารถในการลดความดันโลหิต จาการบริโภคปลาในผู้ป่วยความดันโหลิตสูง ขึ้นกับการเพิ่มขึ้นของส่วนประกอบ PUFA ที่เยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดง และองค์ประกอบของกรดไขมันที่เยื่อบุเดังกล่าว.