Hypertension Update
Extreme Air Pollution Condition Adversely Affect Blood Pressure and Insulin Resistance 2193 View(s)
Extreme Air Pollution Condition Adversely Affect Blood Pressure and Insulin Resistance.The Air Pollution and Cardiometabolic Disease Study

โดย Robert D Brook และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2016;67:77-85.

บทคัดย่อ : มีข้อมูลสนับสนุนว่า อนุภาคละเอียด (fine particulate matter) มีผลกระทบต่อโรคด้านระบบ cardiometabolic แต่สำหรับผลกระทบในเมืองใหญ่ในเอเซีย ที่มีความเข้มข้นของสารนี้สูงมากๆ นั้นยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผู้ทำการศึกษาได้คัดเลือกผู้ใหญ่ ที่ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 65 คน ที่มีภาวะ metabolic syndrome และ insulin resistance ในเมืองปักกิ่งโดยทำการศึกษาแบบติดตามจำนวน 4 ครั้ง ใน 4 ฤดู ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012. พบว่าระดับ fine particulate matter ที่ล้อมรอบ และระดับ black carbon มีระดับจาก 9.0 ถึง 552.5 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร และ 0.2 ถึง 24.5 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โดยที่ระดับเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วยเดือนมกราคม 2013.

การสะสมของ fine particulate matter ที่สัมผัส มีความสัมพันธ์ต่อระดับความดันซิสโตลิกที่เพิ่มขึ้น ระหว่าง 2.0 (95% confidence interval, 0.3-3.7) ถึง 2.7 (0.6-4.8) มิลลิเมตรปรอท ต่อ SD increase (67.2 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร) ในขณะที่ การสะสมของ black carbon มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความดันดัยแอสโตลิก จาก 1.3 (0.0-2.5) ถึง 1.7 (0.3-3.2) มิลลิเมตรปรอท ต่อ SD increase (3.6 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร)

พบว่าทั้ง black carbon และ fine particulate matter มีความสัมพันธ์กับการแย่ลงของภาวะ insulin resistance 0.18 [0.01-0.36] และ 0.22 [0.04-0.39] หน่วย ต่อ SD increase ของระดับ black carbon และ 0.18 [0.02-0.34] และ 0.22 [0.08-0.36] หน่วย ต่อ SD increase ของระดับ fine particulate matter.

จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านมลภาวะอากาศ อาจมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มความเสี่ยงของโรคด้านระบบ cardiometabolic โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชาการอยู่กันอย่างหนาแน่นในปัจจุบัน

(image credit: https://www.autismspeaks.org/sites/default/files/docs/air_pollution_traffic)