Hypertension Update
Blood Pressure Variability and Prediction of Target Organ Damage in Patients With Uncomplicated Hypertension 2209 View(s)
Blood Pressure Variability and Prediction of Target Organ Damage in Patients With Uncomplicated Hypertension

โดย Panagiota Veloudi และคณะ

วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 29(9) September 2016;1046.

บทคัดย่อ
ที่มา
ค่าเฉลี่ยในการวัดความดันโลหิตหลายๆครั้ง (mean blood pressure; mean BP) เป็นค่าการพยากรณ์ถึงการเสียหายของอวัยวะที่เป็นเป้าหมาย (target organ damage; TOD). จากการศึกษาชนิดพรรณา (observational study) หลายการศึกษา พบว่าความสัมพันธ์กันระหว่าง ค่าเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต (BP variabity; BPV) และ target organ damange แต่ยังมีข้อจำกัดของข้อมูลในระยะยาว.

การศีกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต เปรียบเทียบ BP variabitiy ต่อดัชนีมวลกล้ามเนื้อของหัวใจห้องซ้ายล่าง (left ventricular mass index; LVMI) และ aortic pulse wave velocity (aPWV).

วิธีการศึกษา
ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (mean BP) จาก research-protocal clinic BP (clinic BP) , ค่าความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (24 hr ambulatory BP), ค่าความดันโลหิตที่บ้าน แบบ 7 วัน ( 7 day home BP), และ BPV ได้ถูกประเมินในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 286 ราย พบว่าผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 64 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8 ปี) โดยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53 .

ค่า reading-to-reading BPV (จาก 24 hour ambulatory BP) และ day-to-day BPV (จาก 7 day home BP) ได้ถูกทำการประเมิน ที่เวลาตั้งต้น และที่ระยะเวลา 12 เดือน. ค่า LVMI ได้ถูกทำการประเมินโดยใช้ 3D Echocardiography และ ค่า aPWV ได้ถูกทำการประเมินโดย applanation tonometry.

ผลการศึกษา
พบว่า ค่าการพยากรณ์ที่รุนแรงทีสุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงของ LVMI ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกเฉลี่ยที่ 24 ชั่วโมง (mean 24-hour ambulatory SBP) (ค่า P น้อยกว่า 0.02) ในทางเดียวกัน ค่าการพยากรณ์ที่รุนแรงทีสุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงของ aPWV ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกเฉลี่ยที่ 24 ชั่วโมง (mean 24-hour ambulatory SBP)
(ค่า P น้อยกว่า 0.01) และการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกเฉลี่ยที่คลินิก (mean clinic SBP) (ค่า P น้อยกว่า 0.001). แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต BPV จะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยแปลงของ LVMI หรือ aPWV (P มากกว่า 0.05 ทั้งสิ้น)

สรุป
การเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับ BPV น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิด TOD ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน จากการศึกษานี้ ค่า BPV ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ในทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มดังกล่าว.

credit image: http://www.abdn.ac.uk/medical/bhs/images/booklet/elderly.gif