Hypertension Update
Relationship of Hypertension to Coronary Atherosclerosis and Cardiac Events in Patients With Coronary Computed Tomographic Angiography. 2202 View(s)
Relationship of Hypertension to Coronary Atherosclerosis and Cardiac Events in Patients With Coronary Computed Tomographic Angiography.

โดย Rine Nakanishi และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2017;70:293-299

บทคัดย่อ:โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยก่อให้เกิดภาวะ atherosclerosis และมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด (cardiovascular risk). ผู้ทำการวิจัย ได้ทำการศีกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูง กับการเกิดโรค , การขยายของโรค , ความรุนแรง ของภาวะ coronary atherosclerosis ในการตรวจ computed tomographic angiography (CTA) และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ.

ผู้ป่วยจำนวน 17,181 คนถูกคัดเลือกเข้าสู่การศึกษา the CONFIRM registry (Coronary CT Angiography Evaluation for Clinical Outcomes: An International Multicenter Registry) ได้รับการตรวจ coronary CTA ที่มีความละเอียดตั้งแต่ 64 detector row โดยมีผู้ป่วยจำนวน 14,803 คน ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ.

ผู้ทำการศีกษาได้ทำการจับคู่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,434 คน กับที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,434 คน. การประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ (major adverse cardiac event) ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น และไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ใช้ Cox Proprotional Hazards models.

การพยากรณ์โรค ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น กับไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พิจารณาประเมินจาก
การเพิ่มระดับความรุนแรงของภาวะการตีบของหลอดเลือดหัวใจ (non-obstructive กับ obstructive > 50 %) และการขยายของโรคหลอดเลือดหัวใจ (segment involvement score 1-5 หรือ มากกว่า 5) พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะมีการเกิด non-obstructive และ โรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 1 , 2 และ 3 เส้น มากกว่าในกลุ่มที่ไม่มีความดันโลหิตสูง. ที่ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 5.2 +/- 1.2 ปี พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 180 คน เกิดโรคหัวใจ โดยจำแนกกลุ่ม พบว่าเป็นผู้มีโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 104 คน (คิดเป็นร้อยละ 2) และ เป็นผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 76 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.5) ทำการวิเคราะห์ พบว่า hazard ratios 1.4 และ confidence intervals 1.0-1.9.

เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งในกลุ่ม no coronary atherosclerosis และ obstructive coronary artery disease มีแนวโน้มมีความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจมากกว่า และพบแนวโน้มในลักษณะที่เหมือนกันกับปัจจัยการขยายขอบเขตของโรคหลอดเลือดหัวใจ.

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีการเพิ่มขึ้นของการปรากฏ, การขยายตัว และความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านโรคหัวใจมากกว่า.

(ขอบคุณรูปประกอบจาก www.intechopen.com )