Hypertension Update
Relationships Between Components of Blood Pressure and Cardiovascular Events in Patients with Stable Coronary Artery Disease and Hypertension 2195 View(s)
Relationships Between Components of Blood Pressure and Cardiovascular Events in Patients with Stable Coronary Artery Disease and Hypertension.

โดย Vidal-Petiot E. และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2018;71:168-176.

บทคัดย่อ :
จากข้อมูลการศึกษาแบบ observational แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ลักษณะตัว J ระหว่างค่าความดันโลหิตดัยแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure; DBP) และการเกิดภาะวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจหลอดเลือด ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย. ผู้ทำการศึกษาได้ค้นหาความสัมพันธ์ ของความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว กับค่าความดันดัยแอสโตลิก ที่ลดต่ำลง
ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ค่า Pulse Pressure (PP) สูงขึ้น.

ผู้ที่เข้าร่วมในการศึกษาได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหินสูง ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย จำนวน 22,672 คน จากฐานข้อมูล CLARIFY registry (Prospective Observational Longitudinal Registry of Patients With Stable Coronary Artery Disease) มีระยะเวลาการติดตาม มัธยฐาน 5 ปี โดยได้รับการประเมินค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต เป็นประจำทุกปี.

ความสัมพันธ์ระหว่าง PP และ DBP (ปัจจัยเดียว หรือทั้งสอง) กับผลลัพธ์แบบ primary composite (cardiovascular death หรือ myocardial infarction) ได้ถูกทำการวิเคราะห์
โดยใช้หลัก multivariable Cox proportional hazards models.

ผล adjusted hazard ratio ของผลลัพธ์ปฐมภูมิ (primary outcome) เท่ากับ 1.62 (95% confidence interval [CI], 1.40-1.87, 1.0 (ref), 1.07 (95%CI, 0.94-1.21)
, 1.54 (95% CI, 1.32-1.79) และ 2.34 (95%CI, 1.95-2.81) สำหรับ PP < 45 , 45 ถึง 54 (อ้างอิง reference) , 55 ถึง 64 , 65 ถึง 74 และ มากกว่าหรือเท่ากับ 75 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ
และ เท่ากับ 1.50 (95% CI, 1.31-1.72), 1.00 (อ้างอิง), และ 1.58 (95% CI, 1.42-1.77) สำหรับ DBP น้อยกว่า 70 , 70-79 (อ้างอิง), และมากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ.

ในการวิเคราะห์แบบ cross classification ระหว่าง DBP และ PP พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง DBP กับ ผลลัพธ์ปฐมภูมิยังคงความเป็นลักษณะ J-shaped เมื่อจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มี PP ต่ำทึ่สุด (45 ถึง 64 มิลลิเมตรปรอท) พบว่ามี adjusted hazard ratio เท่ากับ 1.53 (95% CI, 1.27-1.83), 1.00 (อ้างอิง) ,และ 1.54 (95% CI, 1.34-1.75) ในกลุ่มที่น้อยกว่า 70, 70 ถึง 79 (อ้างอิง) และ มากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิเมตรปรอท ในกลุ่มย่อย ตามลำดับ.

สรุป มีความสัมพันธ์กันในลักษณะ J-shaped ระหว่าง ความดันดัยแอสโตลิก กับภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหัวใจหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย ร่วมกับมีระยะ PP ที่น้อยที่สุด.

(ขอบคุณรูปประกอบจาก https://drlam-6bmwcfqpiol3wo6jnjj0.netdna-ssl.com/images/hypertension-natural-blood-pressure-reducers-19745-1.jpg)