Hypertension Update
Blood Pressure Levels and Risks of Dementia: a Nationwide Study of 4.5 Million People 2205 View(s)
โดย Chan Joo Lee และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension. 2021;79:218–229.

บทคัดย่อ
มีผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกัน เกี่ยวกับ ผลกระทบของการควบคุมความดันโลหิต (blood pressure, BP) ต่อความเสี่ยงของ ภาวะสมองเสื่อม (dementia).

ผู้วิจัยตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความดันโลหิต และความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมชนิดย่อย (dementia subtypes)โดยการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต (antihypertensive treatment)
และโรคร่วม (comorbidities).

ผู้วิจัยได้ใช้ฐานข้อมูลบริการประกันสุขภาพแห่งชาติของเกาหลี - ฐานข้อมูลการตรวจสุขภาพ (the Korean National Health Insurance Service-Health Screening Database) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ.2012 รวมจำนวน 4,522,447 คน เป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีประวัติภาวะสมองเสื่อม โดยได้รับการวิเคราะห์ และติดตามผล เป็นระยะเวลาเฉลี่ย 5.4 ปี.

แต่ละรายบุคคลถูกจำแนกตาม ค่าความดันซิสโตลิกพื้นฐาน ( systolic BP, SBP) และ ความดันดัยแอสโตลิก (diastolic BP, DBP); โดยใช้ SBP 130 ถึง น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ diastolic BP 80 ถึง น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท เป็นกลุ่มอ้างอิง.

พบว่า ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมโดยรวม (overall dementia) และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่ม SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 160 มิลลิเมตรปรอท และกลุ่ม SBP ที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม. ความสัมพันธ์รูปตัวยู (U-shaped associations) เหล่านี้มีความสอดคล้องกันโดยไม่คำนึงถึง การใช้ยาลดความดันโลหิต หรือโรคประจำตัว.

ความเสี่ยงที่จะเป็น โรคหลอดเลือดสมองเสื่อม ( vascular dementia, VaD) ไม่สูงขึ้นในกลุ่ม SBP ที่ต่ำกว่า และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อ SBP เพิ่มขึ้น. แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (linear association) ระหว่าง SBP กับความเสี่ยงของ VaD ที่น่าจะเป็นในบุคคลที่ไม่ได้รับยาลดความดันโลหิต หรือไม่มีโรคประจำตัว แต่ก็มีความสัมพันธ์รูปตัวยู (U-shaped association)ในผู้ที่ทานยาลดความดันโลหิตหรือ เป็นมีโรคประจำตัว.

รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่าง diastolic BP กับความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ที่น่าจะเป็น (probable Alzheimer disease) หรือ VaD ที่น่าจะเป็นได้ (probable VaD) นั้นคล้ายคลึงกับ กลุ่มที่มี SBP ยกเว้นความเสี่ยงของการเกิด VaD ในผู้ป่วยที่ทานยาลดความดันโลหิต.

โดยสรุป ความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ที่น่าจะเป็นไปได้ และ VaD ที่น่าจะเป็นไปได้นั้น แตกต่างกันในกลุ่ม BP ที่ต่ำกว่า แม้ว่าความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมจะสูงขึ้นในผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำที่ได้รับยาลดความดันโลหิต แต่การค้นพบนี้อาจได้รับผลกระทบจากโรคร่วม.

(credit thumbnail image: https://www.jax.org/-/media/c09dc23a019e493dbfb9492aadf3da5d.jpg)