Hypertension Update
คำถาม ผมอายุ 25 ปี ตรวจพบความดันโลหิตที่ 139/90 ผมต้องไปพบแพทย์ไหมครับ...กลัวจะเป็นโรค 2196 View(s)
คำถาม จาก witoon-2531 เมื่อ 11/12/2556
"ผมอายุ 25 ปี ตรวจพบความดันโลหิตที่ 139/90 ผมต้องไปพบแพทย์ไหมครับ...กลัวจะเป็นโรค"

ตอบ
การวัดระดับความดันโลหิต ได้ที่ 139/90 มิลลิเมตรปรอท นั้นยังไม่นับว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง อ้างอิงตาม 2013 ESH/ESC Guidelines for the management of arterial hypertension (โดยนิยามของการวินิจฉัยนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง มาตั้งแต่ คำแนะนำปี 2003 และ 2007) และ ตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่่วไป พ.ศ.2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

การวินิจฉัยโรคความดันโลหินสูง อาศัยตามคำนิยามโรคความดันโลหิตสูง ดังต่อไปนี้
1.โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) หมายถึง ระดับความดันซิสโตลิค (systolic blood pressure, SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท
และ/หรือความดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure, DBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท
2.Isolated systolic blood pressure (ISH) (ภาวะความดันซิสโตลิคสูงเพียงอย่างเดียว) หมายถึง ระดับความดันซิสโตลิค (systolic blood pressure, SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท
แต่ ความดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure, DBP) น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
3.Isolated office hypertension หรือ Whilte coat hypertension (WCH) (ภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อพบแพทย์) หมายถึง ภาวะที่ความดันโลหิตที่วัดที่คลินิก โรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุข พบว่าสูง ระดับความดันซิสโตลิค (systolic blood pressure, SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือความดันไดแอสโตลิค (diastolic blood pressure, DBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท แต่เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านจาการวัดด้วยเครื่องวัดความดันอัตโนมัติพบว่าไม่สูง (ความดันซิสโตลิค น้อยกว่า 135 มิลลิเมตรปรอท และ ความดันไดแอสโตลิก น้อยกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท)
4.Masked hypertension (ภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อน) หมายถึง ภาวะที่ความดันโลหิตที่วัดในคลินิก โรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุข พบว่าปกติ
(ความดันซิสโตลิค น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันไดแอสโตลิก น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท) แต่เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านจาการวัดด้วยเครื่องวัดความดันอัตโนมัติพบว่าสูง (ความดันซิสโตลิค มากกว่าหรือเท่ากับ 135 มิลลิเมตรปรอท และ ความดันไดแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท)

คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัว ขึ้นกับประวัติอื่นๆ และปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ไขมันในเลือด การทำงานของไต เป็นต้น , ประวัติการสูบบุหรี่ , ประวัติโรคประจำตัวในครอบครัว
หากไม่มีปัจจัยเสี่ยง อื่นๆ ดังกล่าว แนะนำวัดความดันโลหิตซ้ำ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี หรือ วัดบ่อยกว่านั้น หากต้องการตรวจติดตามใกล้ชิด.