Hypertension Update
ตอบคำถามคุณ kanyarat1-4 คุณย่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาได้ประมาณ 5 ปี 2237 View(s)
คำถาม 14-09-2014 จากคุณ kanyarat1-4

สวัสดีค่ะ เนื่องจากคุณย่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาได้ประมาณ 5 ปี พอไปวัดความดันก็ปกติค่ะ
ประมาณ 130 มิลลิเมตรปรอท กินยามาตลอด และมีตัวยาเยอะมาก และราคายาก็มีราคาแพง
ถ้าหยุดกินยาจะมีปัญหาอะไรไหมคะ
---
คำตอบ
ในการรักษาความดันโลหิตสูง ในผู้สูงอายุ (หมายถึงผู้ที่มีอายุ มากกว่า 60 ปี) มีสาระสำคัญ ตามแนวทางการรักษาโรความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติของประเทศไทย พ.ศ.2555

เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคดันโลหิตสูง ในผู้สูงอายุ ใช้เกณฑ์เดียวกับประชากรทั่วไป คือ ที่ระดับความดันโลหิต ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท

โดยมีข้อควรระวังเพิ่มเติม ได้แก่
- หากผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะมีภาวะ atrial fibrillation ควรทำการวัดหลายๆครั้ง เพื่อหาค่าที่ตรงกันมากที่สุด
- ความดันโลหิตของผู้สูงอายุมีความแปรปรวน (variability) อย่างมาก อาจถึงร้อยละ 50 ในแต่ละช่วงเวลาของวัน อาจจะพบภาวะ white coat hypertension ได้บ่อย
โดยระดับความดันโลหิตที่วัดขณะอยู่ที่โรงพยาบาลมักมีค่าสูงกว่าที่บ้าน การแก้ไขปัญหาความแปรปรวนของความดันโลหิตที่วัดในผู้สูงอายุ ได้แก่

ความดันโลหิตที่วัดที่บ้าน จะสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อน , target organ damange (TOD) รวมทั้งอัตราตาย ได้ดีกว่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล จึงควรใช้ความดันโลหิตที่วัดที่บ้านของผู้สูงอายุประกอบการรักษาจะดีกว่าใช้ค่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล

เนื่องจากความดันโลหิตของผู้สูงอายุ อาจลดลงได้มากภายในสองชั่วโมงแรกหลังรับประทานอาหาร (postpandrial hypotension) จึงควรวัดความดันโลหิตที่บ้านช่วงเวลาอื่น

- เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากความชรา และมีพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ ในเวลาเดียวกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหา target organ damage ที่เกิดจากโรคควมดันโลหิตสูง รวมทั้งมองหาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆต่อการเกิดโรคระบบหัวใจหลอเลือด ที่มักพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ซึงปัจจัยนี้ อาจส่งผลต่อจำนวนชนิด และปริมาณยาของผู้ป่วยที่ได้รับจากแพทย์

- หลักการเลือกชนิดยาลดระดับความดันโลหิต สำหรับผู้สูงอายุ ตามผลการวิจัย แนะนำยาขับปัสสาวะ diuretics ในกลุ่ม thiazide (12.5 - 25 มิลลิกรัมต่อวัน) เป็นยามาตรฐานกลุ่มแรก

- ผู้ป่วยสูงอายุมักมีพยาธิสภาพหลายระบบในเวลาเดียวกัน แพทย์ควรใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่อาจมีผลดีต่อพยาธิสภาพอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย และป้องกันฤทธิ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากเกินไป (polypharmacy)

- สำหรับรายละเอียดเชิงลึกในการวางแผนการรักษา การปรับยาต่างๆ แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครับ

คำแนะนำสำหรับคุณย่า
- แสดงว่าระดับความดันที่วัดได้ของคุณย่านั้น อยู่ในระดับที่ควบคุมได้แล้วครับ
- ควรรู้เพื่มเติมว่า มีโรคร่วม หรือปัจจัยเสี่ยงโรคอื่นๆอีกไหม เพื่อค้นหาเป้าหมายในการรักษา และส่งผลต่อชนิดยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ
- ควรจำแนกยาที่ผู้ป่วยรับประทาน แต่ละตัวว่า เป็นยารักษาโรคอะไร และมีวัตถุประสงค์ในการรับประทานอย่างไร ตลอดจน พิจารณาถึงปฏิกิริยาต่อกันของยาแต่ละตัวด้วย)
- ปัจจัยที่มีผลต่อราคายา มีหลากหลาย เช่น ชนิดยา ยี่ห้อยา สถานที่จำหน่าย ฯลฯ
- การปรับลดยา สามารถทำได้ หากหมดข้อบ่งชี้ ของยาบางตัว โดยควรอยู่ภายในการแนะนำ และการติดตามของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครับ